________หลังจากที่ google map ได้พัฒนา api ขึ้นมา ก็เริ่มมีการนำมาประยุกต์ใช้กันแพร่หลาย ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้นและงานวิจัยตอนป.ตรีของผมเองก็ใช้ Density อยู่ด้วย แต่มีบางคนที่ยังไม่ทราบว่า HeatMap หรือ Density Map ว่ามันคืออะไรหรือว่าเค้าอาจจะรู้แต่เค้าไม่ยอมรับว่ามันสามารถแสดงให้เห็นในลักษณะนี้ได้ (Visualization)หรือไม่ยอมรับมันนั่นเอง ซึ่งก็มีหลายๆ ท่านที่พัฒนาโดยใช้ HeatMap หรือ Density Map ในงานด้านต่างๆ และผมก็ชอบและสนใจมากๆอีกด้วยยังไงลองดูตามลิงค์เหล่านี้เลยครับ โดยผมก็ได้แนวความคิดจากเว็บไซต์ที่ผมติดตามอยู่เป็นประจำครับ และสำหรับท่านไหนที่ยังไม่ทราบว่า HeatMap หรือ Density Map เป็นยังไงเค้าทำกันยังไงก็ดูจากเว็บไซต์ที่ผมอ้างอิงด้านล่างนี้ครับ
http://emap.wordpress.com/2009/04/20/density-mapping-online-analysis/
http://thaigeospatial.blogspot.com/2012/11/heatmap.html
http://thaigeospatial.blogspot.com/2012/09/heatmap-google-navteqnokia.html
ดังภาพตัวอย่างนี้ก็เป็นการแสดงความหนาแน่นของจุดความร้อนที่เกิดจากไฟป่า ซึ่งมันทำให้ผมหลงไหล HeatMap มากขึ้น
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
Install PostgreSQL/PostGIS on Ubuntu 12.04 LTS Success!!
_______ผมพยายามที่จะติดตั้ง PostgreSQL/PostGIS ลงใน Ubuntu มาเป็นเวลานานอยู่สักพักเหมือนกัน แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จสักครั้งครับ แต่พอมาถึงวันนี้ผมสามารถทำได้แล้วซึ่งผมใช้ PostgreSQL 9.1 และ PostGIS 2.0 ซึ่งเวอร์ชั่นนี้จะมีฟังก์ชันของราสเตอร์เข้ามาด้วยและน่าสนใจเลยทีเดียว
ป้ายกำกับ:
pgAdminIII
,
postgis
,
postgresql
,
QGIS
,
Quantum GIS
,
ubuntu
,
Ubuntu Desktop 12.04 LTS
วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
การเรียกชั้นข้อมูล(KML)ในโปรแกรม Google Earth ไปเปิดในโปรแกรม Quantum GIS
_______สวัสดีครับ ช่วงนี้ห่างหายไปนานเลยครับ แต่ก็ทยอยเข้ามาอัพเดพข่าวสารเรื่อยๆครับ บ่อยครั่งที่มีหลายๆคนเข้ามาถามว่า "ถ้าผมต้องวาดจุด เส้น และพื้นที่ ไว้ในโปรแกรม Google Earth และถ้าจะต้องการนำข้อมูลนั้นมาเปิดในโปรแกรม QGIS จะสามารถทำได้หรือไม่" ซึ่งผมก็บอกว่าทำได้ครับ และวันนี้ผนก็จะอธิบายขั้นตอนการทำงานทีละขั้นตอนกันเลย....
1. ถ้าเรามีข้อมูลจุด เส้น และพื้นที่อยู่แล้ว ดังภาพแต่ถ้าใครยังไม่มีข้อมูลก็สามารถวาดหรือ digitize ลงไปได้เลยครับ
1. ถ้าเรามีข้อมูลจุด เส้น และพื้นที่อยู่แล้ว ดังภาพแต่ถ้าใครยังไม่มีข้อมูลก็สามารถวาดหรือ digitize ลงไปได้เลยครับ
2. จากนั้นให้เราเลือก save ทีละชั้นข้อมูลว่าเราต้องการที่จะเอาข้อมูลตัวไหนไปเปิดใน QGIS บ้าง
3. ให้เราเลือกที่เก็บข้อมูล ซึ่ง Save as type ให้เป็น kml(*kml) ครับ
4. ในโปรแกรม QGIS เราก็ทำการเพิ่มชั้นข้อมูล vector layers แต่ เราต้องเลือกประเภทการเปิดข้อมูลเป็นแบบ kml ครับ
5. เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเปิดข้อมูล kml ในโปรแกรม QGIS ได้แล้วครับพี่น้อง :)
Powered by NUGIS
ป้ายกำกับ:
ESRI Shapefile
,
Google Earth
,
Google Maps
,
kml
,
QGIS
,
Quamtum GIS
วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
NUGIS Developer Meeting in Doi Angkhang Chiang Mai, January 2013
_______พวกเราได้มีโอกาสพักผ่อนและหาแรงบัลดาลใจในการพัฒนางานที่รับผิดชอบ และได้พูดคุยกันในงานที่เราจะต้องช่วยกันพัฒนาต่อไป
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)