วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสร้าง Model Builder ในโปรแกรม QGIS

______ในโปรแกรม QGIS นั้น นอกจากจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพื้นที่ได้แล้ว ยังสามารถที่จะสร้าง model ง่ายเพื่อสั่งให้โปรแกรมทำอะไรบางอย่างตามที่เราต้อง ซึ่งจะเหมาะสำหรับคนที่ยังไม่สามารถเขียนปลั๊กอินขึ้นเองได้ ก็ลองใช้ Graphical modeler ของ QGIS ดูน่ะครับไม่ยากใช้ง่ายดีครับ วิธีการใช้งาน QGIS Modeler


Powered by : sakda homhuan & chingchai humhong


วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การตั้งค่าสำหรับเปิดข้อมูลภาพจากดาวเทียมเพื่อให้พร้อมใช้งานในโปรแกรม QGIS

_____หลายท่านคงเคยประสบปัญหาเหมือนๆกันคือว่า เวลาที่เปิดข้อมูลภาพเข้าไปในโปรแกรม QGIS แล้วเรายังต้องมา set ค่าและทำการ enhancement ให้กับข้อมูลภาพอีก ซึ่งเปิดทุกคร้งก็จะต้องทำทุกครั้ง แน่นอนมันก็ต้องเหนื่อยแน่แหละ ยังงั้นเราลองมาดูวิธีที่ทำให้ตอนเราเปิดข้อมูลภาพมาแล้ว สีของภาพชัดเจนพร้อมใช้งานเลย

1. ทำการ Set ค่าดังภาพ โดยไปที่ Setting > Options


2. จากนั้นลองเปิดข้อมูลภาพเข้ามาดูครับ



วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การทำ HTML Map Tips ในโปรแกรม QGIS 2.0.1-Dufour

_______หายหน้าหายตาไปพักนึงครับช่วงนี้ มีอะไรหลายๆ อย่างที่ต้องทำครับ เลยไม่ได้มาอัพเดพเลยครับ วันนี้ก็เลยมานำเสนอเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของ QGIS ซึ่งเป็นลูกเล่นที่น่าสนใจเลยทีเดียวครับสำหรับคนที่ชอบเขียน HTML ง่ายๆ ซึ่งมันมีชื่อว่า Map Tips โดยเครื่องมือนี้มีมาตั้งแต่ 1.8.0 แล้วครับ (เวอร์ชั่นต่ำกว่านั้นลงไปผมไม่ทราบครับ) แต่ยังทำอะไรได้ไม่ค่อยเยอะ แต่มาเวอร์ชั่น 2.0.1 นี้เราสามารถเขียนภาษา HTML ลงไปใน Map Tips นี้ได้เลย เราลองมาดูตัวอย่างกันครับ

1. คลิกชั้นข้อมูลที่ต้องการแสดง Map Tips แล้วไปที่แถบเมนู Display จากนั้นก็เขียนภาษา HTML ลงไป ดังภาพ


2. จากนั้นลองเลื่อนเมาส์ไปชี้ ที่ข้อมูลที่ต้องการอยากจะทราบ ก็จะเป็นดังภาพด้านล่าง



วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Upgrade Ubuntu 13.04 (Raring Ringtail) to Ubuntu 13.10 (Saucy Salamander)

_______ตอนแรกผมได้ลง Ubuntu 13.04 (Raring Ringtail)ไว้พอเปิดขึ้นมา มันก็ให้ Upgrade ไปเป็น Ubuntu 13.10 (Saucy Salamander) เลยตอนแรกผมกะว่าจะไม่ให้มัน Upgrade ไปๆ มาๆ นั่งคิดอยู่พักนึงว่าจะเอายังไงดี สุดท้ายก็เลยตัดสินใจอัพเลย ซึ่งผลออกมาก็ถือว่าใช้ได้ดีเลยทีเดียวครับ ซึ่งโปรแกรมทางด้าน GIS ที่ผมเคยลงไว้ในเวอร์ชั่นเก่านั้น ก็ยังคงใช้การได้เหมือนเดิม ไม่มีข้อบกพร่องอะไรครับ ถ้าใครที่สนใจอยากจะลองบ้างก็ให้เข้าไปที่ http://www.ubuntu.com/download/desktop/upgrade ซึ่งจะมีขั้นตอนบอกอยู่ครับ




ที่มา: http://www.ubuntu.com/download/desktop/upgrade

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การติดตั้งฟอนต์ "ไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK)" ลงในระบบปฎิบัติการ Ubuntu

1. เข้าไปดาวน์โหลดฟอนต์ที่เว็บไซต์ http://www.f0nt.com/release/13-free-fonts-from-sipa


2. จากนั้นก็ให้แตกไฟล์ฟอนต์ทั้งหมด ดังภาพ


3. จากนั้นก็ copy โฟลเดอร์ ที่เราได้แตกไฟล์ฟอนต์แล้วไปวางไว้ที่ /usr/share/fonts/truetype


4. เปิด terminal ขึ้นมาแล้วเข้าไปที่ path => cd /usr/share/fonts ดังภาพ


5. จากนั้นใช้คำสั่ง sudo fc-cache -f -v เพื่ออัพเดท cache ฟอนต์ของระบบ


6. ติดตั้งฟอนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว


7. ภาพตัวอย่างเพื่อทดสอบว่าใช้ฟอนต์ ได้หรือไม่


อ้างอิงวิธีการจาก : เพิ่ม font ลงในระบบ ubuntu

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Load Shapefile (SHP) into PostGIS from Command-line (Terminal) on Ubuntu

_______การนำเอาข้อมูล Shapefile เข้าสู่ฐานข้อมูล database โดยใช้โปรแกรม PostgreSQL/PostGIS ผ่าน Terminal ซึ่งทำในระบบปฏิบัติการ Ubuntu ครับ โดยการใช้งานก็คล้ายๆ กับที่เราติดตั้งใน windows นั่นแหละครับ ซึ่งข้อมูล shapefile ที่อยู่ใน postgis แล้วนั้นจะอยู่ในรูปแบบของตาราง table โดยจะมี column หนึ่งที่เก็บ Geometry ไว้ครับ วันนี้ผมก็จะอธิบายอย่างคร่าวๆ ก่อนล่ะกันครับ (เอาไว้วันหลังบ้างฮ่าๆ) เรามาดูวิธีทำกันครับ

1. เริ่มจากการเปลี่ยน shapefile เป็น sql โดยใช้ shp2psql ซึ่งผลลัพธ์เราจะได้ไฟล์ sql ออกมาครับ ดังภาพ


2. เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็ให้ Enter ก็จะได้ดังภาพ ซึ่งก็จะบอกประเภทของข้อมูล shapefile นั้นๆ


3. จากนั้นเราจะได้ไฟล์ sql ออกมาดังภาพ


4. จากนั้นเราก็นำเอาไฟล์ sql นั้นเข้าสู่ database ได้เลยครับ


5. จากนั้นก็ run ได้เลยครับ สำเร็จแล้ว


6. เมื่อทำได้แล้วก็จะมีตารางข้อมูลปรากฏขึ้นมาใหม่ ดังภาพ


7. ลองเปิดตารางดู ว่ามีฟิลด์เหมือนกับ shapefile หรือไม่


8. เชื่อมต่อฐานข้อมูลกับ PostGIS โดยใช้ QGIS ดังภาพครับ


9. ผลลัพธ์ที่ได้จากการเรียกชั้นข้อมูลจาก PostGIS ครับ




วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ติดตั้งโปรแกรม QGIS 2.0.1-Dufour บนระบบปฏิบัติการ Ubuntu 13.10 (Saucy)

_______ช่วงนี้จะเห็นผมเริ่มใช้ Ubuntu บ่อยขึ้น ก็เนื่องจากว่าผมจะใช้แบบ Open Source ทั้งระบบเลย จึงเริ่มตั้งแต่ระบบปฏิบัติการเลยครับ และผมก็คิดว่าน่าจะมาถูกทางแล้วสำหรับคนที่รักสายงาน GIS แบบ Open Source จริงๆ เพราะว่ามันเข้ากันได้ดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น Desktop GIS หรือ Internet GIS เหลืออย่างเดียวที่ยังไม่ได้ลองก็คือ Mobile GIS ครับ เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า วันนี้เราเริ่มต้นที่การติดตั้งโปรแกรม QGIS 2.0.1-Dufour บนระบบปฏิบัติการ Ubuntu 13.10 (Saucy)กันก่อนครับ ดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของ qgis => http://qgis.org


2. คลิกที่ปุ่ม Download แล้วเลือกเป็นแบบ Ubuntu ซึ่งเราก็จะเห็นว่ามี Ubuntu หลายเวอร์ชั่นผมเลือก Saucy


3. ไปที่ Software & Update แล้วเลือกแถบ Other Software ดังภาพ


4. คลิกที่ปุ่ม Add แล้วก็พิมพ์ Code นี้ลงไปครับ "deb http://qgis.org/debian saucy main" แล้วกดปุ่ม Add Source ดังภาพ


5. เมื่อ Add แล้วก็จะได้ดังภาพ ด้านล่าง จากนั้นให้คลิกปุ่ม Close ได้เลยครับ


6. จากนั้นให้ไปที่ dashboard แล้วเปิด terminal จากนั้นให้ทำการ copy "keyserver gpg --keyserver keyserver.ubuntu.com --recv 47765B75" ลงไปใน terminal แล้ว enter 1 ครั้ง จากนั้นก็ให้ copy source code อีกบรรทัด "gpg --export --armor 47765B75 | sudo apt-key add -" ลงไปใน terminal เช่นกัน แล้วก็ enter จากนั้นก็ใส่ password เครื่องเราแล้วก็ enter อีกครั้งหนึ่งครับ



7. ไปที่ Software Updater รอสักพักหนึ่งครับ โปรแกรมกำลัง Check Update อยู่


8. จากนั้นคลิกปุ่ม Install Now ครับ


9. โปรแกรมกำลัง Install Update รอแป๊บครับ


10. จากนั้นก็ Restart เครื่องครับ


11. หลังจากที่ Restart เครื่องแล้ว ให้ไปที่ Ubuntu Software Center แล้วให้พิมพ์ในช่อง Search ว่า "QGIS" จากนั้นเราจะเห็นโปรแกรม QGIS ให้ทำการคลิกเข้าไป


12. เราจะเห็นว่ามันมีปุ่ม Install ให้ทำการคลิกที่ปุ่ม Install ได้เลยครับ


13. กำลังติดตั้งโปรแกรม QGIS รอสักครู่ครับ


14. ติดตั้งโปรแกรม QGIS เสร็จเรียบร้อยครับ


15. เปิดโปรแกรม QGIS ขึ้นมาก็จะพบ Splash อันใหม่ QGIS 2.0 - Dufour ดังภาพ


16. ลักษณะหน้าตาของโปรแกรม QGIS 2.0 ใน Ubuntu


17. QGIS Browser ใน Ubuntu ก็มีเช่นกันคับ



Reference : http://qgis.org/en/site/forusers/alldownloads.html#ubuntu

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หนังสือ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Geographic Information System)"


______สำหรับผู้ที่สนใจความรู้เกี่ยวกับ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม แล้วต้องการหาหนังสือดีๆ สักเล่มอ่านและศึกษา ผมขอแนะนำหนังสือเล่มนี้เลยครับ "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Geographic Information System)" ซึ่งเขียนโดย "รศ.ดร.ชฎา ณรงค์ฤทธิ์" ปัจจุบันท่านอาจารย์ได้สอนอยู่ที่คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และดำรงตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการ สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร (GIST@NU) อีกด้วยครับ ถ้าอยากทราบรายละเอียดผลงานของท่านอาจารย์ ลองคลิกที่นี่ครับ ส่วนหนังสือก็คลิกดาวน์โหลดได้จากนี่เลย Click Download Book

Source by : www.map.nu.ac.th (MAP@NU)

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ทำให้ QGIS 1.9 และ QGIS 2.0 สามารถเปิดข้อมูลภาพ ไฟล์นามสกุล ECW ได้

_______ก่อนอื่นเลยก็ต้องแนะนำประเภทของข้อมูลภาพนี้ก่อนครับคือ ECW (Enhanced Compression Wavelet) ซึ่งพัฒนามาจากบริษัท ERDAS แต่ตอนนี้เป็นของ Intergraph แล้วครับ เท่าที่ผมได้ใช้โปรแกรม QGIS มาน่ะครับ ตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.8 หรือ 1.9 ขึ้นไป จะไม่สามารถเปิดข้อมูลภาพ ECW นี้ได้ แต่วันนี้ผมมีวิธีการที่ทำให้สามารถเปิดได้แล้วครับ ดังนี้

0. แสดงภาพที่ Error ที่เกิดขึ้นครับ


1. ให้ดาวน์โหลดไฟล์ gdal-19-1600-ecw จากลิงค์นี้ Click  หรือเข้าไปโหลดที่ http://www.gisinternals.com/sdk/


2. เมื่อดาวน์โหลดแล้วก็ดับเบิลคลิ๊กไฟล์นั้นเลย แล้วคลิกปุ่ม Next

 
3. คลิกปุ่ม accept แล้วคลิกปุ่ม Next


4. คลิกที่ปุ่ม Complete แล้วคลิกปุ่ม Next
 

5. คลิกปุ่ม Install เริ่มการติดตั้งโปรแกรม

  

6. คลิกปุ่ม Finish สิ้นสุดการติดตั้ง


7. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้ไปที่โฟลเดอร์ C:\Program Files\GDAL\ ก็จะเห็นไฟล์ libecwj2.dll ให้เรา copy

8. แล้วนำมาวางไว้ที่ C:\Program Files\QGIS Dufour\bin ดังภาพ


9. จากนั้นให้ไปที่ C:\Program Files\GDAL\gdalplugins ก็จะเห็นไฟล์ gdal_ECW_JP2ECW.dll ให้เรา copy


10. แล้วนำมาวางไว้ที่ C:\Program Files\QGIS Dufour\bin\gdalplugins\1.9 ดังภาพ


11. ปิด-เปิดโปรแกรมใหม่ ก็จะสามารถเปิดไฟล์ ECW ได้แล้วครับ