วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Chapter 7 : Warp (Reproject) and Translate (Convert format)

_______มาถึงบทที่ 7 กันแล้วน่ะครับในบทนี่ก็จะอยู่ในส่วนของเมนู Raster อยู่ครับ
แต่จะสอนการ warp projection ของข้อมูลภาพ และการแปลงไฟล์นามสกุลของข้อมูลภาพครับซึ่งสองเครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดการกับข้อมูลภาพเป็นส่วนใหญ่ครับ ยังไงก็ลองไปใช้ดูครับ :)

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Quantum GIS Version 1.7.2 'Wroclaw' is released มาแล้วครับ


________หลังจากที version 1.7.1 ออกมาไม่นาน ก็ตามมาติดๆ ด้วย version 1.7.2 ซึ่ง version นี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข error อยู่หลายตัวเหมือนกันครับอย่างเช่น Fix Gdaltools error checking for ogr layers ซึ่งสามารถเข้าไปดูรายละเอียดจากทางเว็บไซต์ของ QGIS ได้เลยครับ Changelog QGIS Version 1.7.2 'Wroclaw' หรือสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมลองไปใช้ได้เลยครับ QGIS Version 1.7.2 'Wroclaw' Download

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Chapter 6 : Create hillshade model and contour line (QGIS)

_______สวัสดีครับ ตอนนี้ก็มาถึงบทที่ 6 แล้วครับ ซึ่งในบทเรียนนี้ก็จะเสนอวิธีการ ทำ Hillshade กับ Contourที่ได้มาจาก DEM (Digital Elevation Model) ซึ่งข้อมูลความสูงเป็นของ ASTER GDEM สามารถไปดาวน์โหลดได้ Click การสร้างเส้นชั้นความสูงหรือ Contour line และ Hillshade จะใช้โปรแกรม Quantum GIS (QGIS) โดยใช้ในส่วนของเมนู Raster ซึ่งเจ้าโปรแกรม QGIS จะมีเครื่องมือของ GDAL ฝังอยู่เพื่อเอาไว้จัดการกับข้อมูลแบบ Raster ครับ

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Chapter 5 : Convert Shapefile to KML

______มีหลายคนโทรเข้ามาถามว่า "เฮ้ยทำไงจะเอาข้อมูล *.shp ไปเปิดในโปรแกรม google earth ได้" เราก็บอกไปว่าไม่ยากเลยก็แปลงให้เป็น kml สิครับโดยใช้ไอ้เจ้า Quantum GIS นี่แหละครับง่ายสุดๆ แล้ว ซึ่งวันนี้ก็เลยทำวิธีการแปลงไฟล์ที่เป็นแบบ ESRI Shapefile เป็นแบบ KML ( Keyhole Markup Language) แล้วลองไปเปิดกับโปรแกรม Google Earth ดูว่าจะผลลัพธ์อย่างไร ไปดูกันเลยครับ :))

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Chapter 4 : Importing a dbf or excel file containing X,Y Values into QGIS

______หลังจากที่ห่างหายกันไปนานในบทเรียนของโปรแกรม Quantum GIS โดยวันนี้จะมาเสนอบทที่ 4 คือการนำเข้าข้อมูลจาก *.dbf หรือ excel ที่เป็นนามสกุลแบบ *.csv ซึ่งไฟล์นี้ก็จะต้องมีค่าพิกัดที่เป็นแบบ UTM หรือ LAT,LONG ครับ
ซึ่งวิธีการนั้นก็จะแสนง่ายดายเลยครับไม่ยากเลยเหมาะสมสำหรับบุคคลที่กำลังทำงานภาคสนามออกพื้นที่สำรวจในเรื่องต่างๆ แต่อยากที่จะนำข้อมูลออกมานำเสนอในรูปแบบจุดในแผนที่ ผมขอแนะนำวิธีนี้อีกวิธีนึงน่ะครับที่สามารถช่วยคุณได้
ซึงถ้าเป็นเทียบกับ ArcView3.a ก็คือ add event theme หรือ arcgis ก็คือ create feature class from xy table แต่โปรแกรม Quantum GIS เองเรียกว่า "Add Delimited Text Layer" ครับ (ยังไงก็ลองนำไปใช้ดูน่ะครับ)

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แสดงการไหลของมวลน้ำแบบ animation จากข้อมูลน้ำท่วมของ gistda โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT



เข้าไปชมได้ที่ : Thai Flood Animation

________แสดงการเคลื่อนตัวของมวลน้ำที่กำลังเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 12 กันยายน - 5 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งได้ข้อมูลมาจาก gistda แล้วจัดทำโดยสถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร (gist@nu) ยังก็เอาใจช่วยคนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกๆ ท่านก็แล้วกันน่ะครับ เข้มแข็ง อดทนเข้าไว้แล้วมันก็จะผ่านไป รักกันเข้าไว้น่ะครับ คนไทยไม่ทอดทิ้งกันอยู่แล้วครับ ผมเชื่ออย่างนั้น เชื่ออย่างนั้นจริงๆ :))

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Esri Thailand Flood Map เจ๋งมาก


______เป็น Web Map Application อันหนึ่งที่ถือว่าเจ๋งมากซึ่งแสดงพื้นที่น้ำท่วม โดยเรียกบริการข้อมูลน้ำท่วมของ สทอภ. หรือ gistda นี่เองครับ และยังมีของสถาบันอื่นๆ อย่าง พื้นที่น้ำท่วมจาก UNITAR/UNOSAT , เส้นทางที่น้ำท่วมจากกระทรวงคมนาคม , บริเวณที่เป็นน้ำจาก SMAC , ศูนย์พักพิง ลองเข้าไปได้ที่ Esri Thailand Flood Map

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สถานการณ์น้ำท่วมรายวัน ปี 2554 แบบ animation



http://www.tempf.com/getfile.php?id=1090790&key=4eb3d85ca4396

_________สถานการณ์น้ำท่วมรายวัน ปี 2554 แบบ animation ซึ่งได้ข้อมูลมาจาก gistda แล้วเอามาทำเป็นภาพเคลื่อนไหวง่ายๆ เอาแบบดูง่ายๆ แล้วเข้าใจ ซึ่งจัดทำโดยสถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร (gist@nu) เลยนำมาให้ดูกันครับ :)