วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Chapter 10 : Georeferencing raster data with Quantum GIS



_______สวัสดีครับก็มาถึงบทที่ 10 แล้วครับ ที่สำคัญจะมีเสียงบรรยายประกอบด้วยครับ ซึ่งบทนี้ก็จะแนะนำการทำ Georeferencing หรือที่เคยได้ยินกันบ่อยๆ ที่เรียกกันว่าการตรึงค่าพิกัดให้กับข้อมูลภาพครับ ซึ่งภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ได้มากก็มาจากโปรแกรม Google Earth โดยการ capture มานั่นเองครับ โดย Quantum GIS ตัวนี้ใช้ง่ายมากครับแล้วก็รวดเร็ว และยังมีความถูกต้องค่อนข้างดีเลยทีเดียว ก็เลยจะขอแนะนำเครื่องมืออีกตัวหนึ่ง เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังจะทำเกี่ยวกับการตรึงภาพอยู่น่ะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลตัวอย่างสำหรับทำวิดีโอประกอบ : MapNU และ gistnu

AtlasStyler SLD editor and Save As SLD [QGIS]

AtlasStyler SLD editor

Save As SLD [Plugin QGIS]

_______เอาใจสำหรับคนที่กำลังเขียน SLD (Styled Layer Descriptor) กล่าวได้เลยว่าการปรับแต่ง SLD ก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งเหมือนกัน ถ้าขาดเจ้าตัวนี้ไปก็จะทำให้ web map service ของเราก็จะดูไม่จืดเลยทีเดียว ซึ่งจริงๆ แล้วการเขียน SLD ก็เหมือนกับการปรับแต่ง style ของข้อมูลใน QGIS นั่นแหละครับ เพียงแต่มันจะอยู่ในรูปแบบของ code เท่านั้นเอง ซึ่ง SLD มันก็คือ XML ประเภทหนึ่งนั่นเองครับ ซึ่งเมื่อก่อนยังไม่มีเครื่องมือ (tool) ที่ช่วยในการ Generate SLD ออกมาดังนั้นจึงต้องออกแรงกันอยู่พอสมควร แต่เดี๋ยวนี้มันมีเครื่องมือที่ช่วยเราเยอะแยะมากมาย เราเลยไม่ไม่ต้องเสียเวลาหรือนั่งเขียน code ให้เมื่อยตุ้มอีกต่อไปเล้วครับ ซึ่งเครื่องมือที่จะมานำเสนอก็มีชื่อว่า "AtlasStyler SLD editor" เป็นฟรีแวร์ครับสามารถโหลดมาใช้ได้เลยครับ แต่ก่อนที่จะใช้โปรแกรมนี้จะต้องลง JRE (Java Runtime Environment) ก่อนน่ะครับ และยังอีกตัวที่ผมนำเสนอครับก็คงจะหนีไม่พ้นเจ้า Quantum GIS (QGIS) ที่ตัวผมเองแนะนำมาตลอด ซึ่ง QGIS ก็สามารถ Generate SLD ได้เช่นกันครับ แต่จะต้องลง plugin เพิ่มก่อนน่ะครับ plugin มีชื่อว่า "Save As SLD" และจุดเด่นอีกอย่างของเขาก็คือสามารถ upload sld เข้าสู่ Geoserver ได้เลย โดยเครื่องทั้งสองอย่างนี้เค้าก็จะ follow ตามมาตราฐาน OGC (Open Geospatial Consortium) ง่ายใช่มั้ยล่ะครับ นี่แหละคือ QGIS ซึ่งทำให้ผมหลงไหลอยู่กับมันตลอดเวลา จนผมแทบไม่ได้กลับไปแตะ Proprietary เลยครับ ถ้าสนใจก็เข้าศึกษารายละเอียดตามด้านล่างเลยครับ :)
Reference & Download
Plugin Qgis : http://pyqgis.org/repo/contributed

AtlasStyler SLD editor : http://en.geopublishing.org/AtlasStyler

SLD CookBook [GeoServer] : http://docs.geoserver.org/stable/en/user/styling/sld-cookbook/index.html

SLD Standard [OGC] : http://www.opengeospatial.org/standards/sld

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เปิดโลกใหม่ด้วย Marble Virtual Globe [Free]

_______สวัสดีครับ เมื่อวันที่ 21-22/12/54 ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสไปเข้าร่วมการอบรมเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน ครั้งที่ 17 ณ ห้องเวียงปิง โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ก็ได้ไปศึกษาวิธีการสอนหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศ ในช่วงระหว่างที่อบรมพี่เค้าก็ได้แนะนำโปรแกรมตัวหนึ่งซึ่งคล้ายๆ กับโปรแกรม Google Earth ที่สำคัญมันฟรีด้วยสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้เลยไม่ผิดกฏหมาย ซึ่งมันมีชื่อว่า Marble Virtual Globe การติดตั้งโปรแกรมก็แสนจะง่ายดายเหมือนกับติดตั้งโปรแกรมทั่วไป เพียงแค่คลิก next อย่างเดียวก็ได้แล้วครับ จุดเด่นของโปรแกรมนี้ก็น่าจะเป็น ที่ว่าโปรแกรมนี้เค้ามีพื้นหลังที่ไม่ใช่แต่เป็นแบบภาพถ่ายจากดาวเทียมเพียงอย่างเดียว แต่เค้าจะมีพื้นหลังที่เป็นแบบแผนที่โลก(World Atlas), แบบ OpenStreetMap(OSM) , Satellite View, Earth at Night (โลกตอนกลางคืน), Historical Map 1689 (แผนที่ประวัติศาสตร์) และอีกหลายอย่างครับ ถ้าอยากรู้ก็ต้องลองดูครับ ซึ่งถ้ามีโอกาสเด๊๋ยวผมจะลองทำคู่มือการใช้อย่างคร่าวๆ มาแนะนำครับ







Download Software : Marble Download
Reference : http://edu.kde.org

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตั้งแต่ Chapter 10 เป็นต้นไป คลิปวิดีโอการใช้โปรแกรม QGIS จะมีเสียงบรรยายครับ



_______เนื่องจากคลิปวิดีโอก่อน ๆ นั้นไม่มีเสียงมีแต่ภาพวิดีโอ ซึ่งก็มีหลายท่านแนะนำมาว่าน่าจะมีเสียงบรรยายประกอบไปด้วยก็จะดีมากเลย แล้วอีกอย่างผมก็คิดว่ามันมีอะไรบางอย่างขาดหายไปเหมือนไม่ครบองค์ประกอบ ดังนั้นผมก็จะเริ่มทำวิดีโอพร้อมการบรรยายโดยเริ่มตั้งแต่บทที่ 10 เป็นต้นไปครับ :) แล้วพบกันครับ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

QGIS 1.7.3 and was released [15 December 2011]




________ออกมาอีกแล้วครับ QGIS เวอร์ชั่น 1.7.3 ซึ่งพึ่งออก 1.7.2 ไปหยกๆ ซึ่งเวอร์นี้ผมยังไม่ได้รีวิวอย่างละเอียดมากนัก เดี๋ยวถ้ามีเวลาจะจัดให้อย่างนักเลยครับ แต่พอดูคร่าวๆแล้วจะมีตรงที่เมนู Raster เค้าจะแยกเมนู ออกเป็นหมวดหมู่ (ดังภาพ) ซึ่งการประมวลผลเร็วขึ้นยังไม่เจอ error ซึ่งเมื่อเช้าก็ใช้ GDAL ในการแปลง Projection ก็ถือว่าเร็วมากเร็วกว่าเวอร์ชั่นที่แล้วครับ ยังไงก็เอาไว้แค่นี้ก่อนแล้วกันน่ะครับ ถ้ามีมีเวลาผมจะรีวิวให้อีกเอาแบบจัดหนักไปเลย (แต่ตอนนี้ขออ่านหนังสือก่อนครับ มีคนที่แสนดีเอาหนังสือมาให้อ่าน ดีมากเลยครับ มันชื่อว่า ชีวิตยิ่งใช้ ยิ่งได้กำไรกลับคืน... [ธัญวาร์ - เขียน])

Download Program QGIS 1.7.3

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Chapter 9 : Raster Based Terrain Analysis [Plugin QGIS]


_______ก็มาถึงบทที่ 9 แล้วน่ะครับ บทนี้จะแนะนำเครื่องมือหรือปลักอินเสริมของโปรแกรม QGIS ที่มีชื่อว่า Raster Based Terrain Analysis ซึ่งเครื่องมือเจ้าตัวนี้ก็เอาไว้ใช้วิเคราะห์ข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข เช่น การหา slope, aspect, ruggedness index และ total curvature โดยการใช้ข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขหรือข้อมูล DEM นั่นเองครับ ส่วนตัวผมเองก็ใช้เครื่องมือตัวนี้ในการวิเคราะห์เหมือนกันครับ ถ้าใครสนใจก็ลองไปใช้กันดูได้ครับ เพื่อจะได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการและเทคนิดของเครื่องมือนี้ดียิ่งขึ้นครับผม :)



ขอขอบคุณข้อมูลตัวอย่างสำหรับทำวิดีโอประกอบ : MapNU และ gistnu

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สไลด์ประกอบการสอนการใช้โปรแกรม Quantum GIS กับงานฐานข้อมูลแหล่งน้ำ



_______เป็นสไลด์การอบรมเชิงปฏิบัติการครับ ซึ่งผมได้มีโอกาสไปอบรมให้กับผู้ที่สนใจในงานทางด้าน GIS กับแหล่งน้ำ ของอ.ปัว จ.น่าน ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่สนใจก็จะเป็นนายช่างโยธาของแต่ละ อบต. และยังมีอาจารย์อีกหลายท่านที่สนใจทางด้านนี้ด้วยครับ เนื้อหาหลักๆที่ผมไปอบรมก็จะเป็นการใช้โปรแกรม QGIS ที่เป็นฟรีแวร์ โดยการนำเข้าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจแล้วเอามาทำเป็นแผนที่ครับ

สามารถดาวน์โหลดสไลด์ไปศึกษาได้ Click Download

ขอขอบคุณข้อมูลสำหรับทำสไลด์ประกอบ :Map@NU และ GIST@NU

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ArcGIS 10.1 Beta 2



The ArcGIS Beta Community team is proud to announce the ArcGIS 10.1 Beta program has kicked off to agreat start. We currently have approximately 2100 active Beta testers from around the world who are, as we speak, testing out some great new features:
______• ArcGIS for Server 10.1 is now native 64-bit! This allows you to leverage high performing CPUs and additional RAM
______• ArcGIS for Server 10.1 includes clustering! Allows users to scale, isolate and dedicate resources to individuals or groups of services. For example, you can dedicate your most powerful machine to your most used services. This will ensure that you have enough computing resources to keep up with demand.
______• ArcGIS 10.1 supports publishing services to the cloud
______• Spatial Data Server allows direct publishing of spatially enabled features (Oracle Spatial, PostGIS, SQL Spatial, and ArcSDE Geodatabases)
______• Improved Dynamic Rendering with ArcGIS for Server 10.1 allows you to change the symbology and add additional data to your map on the fly by sending a simple request
______• Dynamic Legends! Update legend contents based on the features in the visible extent
______• Editor Tracking! Track who makes edits and when edits occur in your feature classes
______• GeoProcessing and Locator Packages! Share your models, script tools and address locators
______• New methods for Administering Enterprise Geodatabases! Manage versions, connections and locks
If you want to get your hands on these cool features, come join us on the ArcGIS Beta Community. There are a ton of new features that make playing with beta software easy and fun.

Reference : Click to See

http://www.esri.com/software/arcgis/arcgis10/whats-coming/index.html

Chapter 8 : Clipping Vector [Geoprocessing Tools]

______มาถึงบทที่เป็นการจัดการข้อมูลแบบเวกเตอร์กันบ้างน่ะครับ ซึ่งวันนี้ก็จะเสนอในส่วนของเครื่องมือ geoproceesing ที่มี method อยู่อันหนึ่งที่เอาไว้ใช้สำหรับตัดข้อมูลเวกเตอร์หรือข้อมูล Shapefile ก็มีหลายคนถามว่าถ้าต้องการจะตัด (Clip) ข้อมูลในส่วนที่ไม่ต้องการหรือไม่ใช่เป็นพื้นที่ศึกษาของเราทิ้งไปจะทำอย่างไร ต้องใช้เครื่องมือหรือวิธีการใด? ผมก็ตอบไปว่ามันไม่ยากอย่างที่คิดเลยครับพี่ เราก็ใช้โปรแกรม QGIS นี่แหละ โดยไปที่เมนู Vector >> Geoprocessing Tools >> Clip ซึ่งในส่วนที่เหลือก็ดูในวิดีโอ ได้เลยครับ :)

[จงสนุกกับมัน แล้วก้าวเดินต่อไป...อย่างไม่หยุดนิ่ง]




ขอขอบคุณข้อมูลตัวอย่างสำหรับทำวิดีโอประกอบ : Map@NU

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

TdhGIS - Vector based Spatial Analysis





______มีโปรแกรมอีกตัวมาให้ได้ลองกันอีกแล้วครับ โปรแกรมนี้จะเป็นโปรแกรมทางด้าน GIS ที่เป็นแบบ Vector based Spatial Analysis ซึ่งโปรแกรมนี้สามารถทำ buffer, thiessen polygons, contour และอีกหลายอย่างครับ สามารถดูวัตถุประสงค์หลักของโปรแกรมตามข้างล่างนี้เลยครับ

*Color polygons based on user data values using either Discrete intervals or Gradients.

*Allocate point data to user specified BUFFERS for points, polygons and multilines (e.g. find all gas stations within 1 mile of a highway).

*Allocate point data to polygons. (e.g. assign structures to hydrological basins).

*Allocate polygon data to other polygons. (e.g. allocate population data by census block to political boundaries).

*Create thiessen polygons (e.g. for all hospitals within a state, define the areas where a particular hospital is closer than any other).

*Create data contours (e.g. create lines of equal ground elevation based on a set of elevation points).

*Create contour polygons (e.g. define the area where average rainfall exceeds a selected value based on weather station data).

สามารถเข้าไปดูรายละเอีดได้ที่ http://www.tdhgis.com/
Download for windows
Download for Linux

Space-Time Analysis of Regional Systems: STARS




References : http://regionalanalysislab.org/

Paper : http://stars-py.sourceforge.net/starsga.pdf

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การติดตั้งโปรแกรม PostgreSQL และ PostGIS for Windows



_______PostgreSQL เป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล object-relational database management system ซึ่งโปรแกรมนี้ลักษณะที่สำคัญก็คือจะมีปลักอินเสริมที่ชื่อว่า PostGIS เอาไว้ใช้ในการจัดการข้อมูลที่เป็นแบบเชิงพื้นที่ และเป็นที่นิยมใช้กันมากในทางด้าน GIS และที่ดีไปกว่านั้นโปรแกรมนี้ เป็นซอฟต์แวร์แบบรหัสเปิดใช้ลิขสิทธิ์BSD ซึ่งหมายถึงผู้ใช้สามารถนาไปใช้งานได้ฟรี นอกจากนี้ในปัจจุบัน PostgreSQL ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรใดโดยเฉพาะแต่มีผู้ร่วมพัฒนาจากทั่วโลกทำให้ PostgreSQL มีการปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง ถ้าสนใจก็ลองดาวน์โหลดไปติดตั้งกันได้น่ะครับ ผมมีคู่มือวิธีการติดตั้งไว้อยู่ด้านล่างครับ

วิธีการติดตั้งโปรแกรม : Click Download

สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ http://www.postgresql.org/ และ http://postgis.refractions.net/

MapWindowGIS 4.8.6 (Final release) Review








______ขอนำเสนอ MapWindowGIS เป็น Desktop GIS ตัวหนึ่งที่เป็นแบบฟรีแวร์ครับ ก็มาถึงเวอร์ชั่น 4.8.6 แล้วครับ ซึ่งแต่ก่อนเวอร์ชั่นเก่าๆ นั้นตอนที่ผมเคยลองเอามาใช้ มันมี bug เยอะไปหน่อยเลยไม่ค่อยได้สนใจเท่าไหร่นัก แต่มาถึงเวอร์ชั่นนี้ถือว่าโอเค ใช้ได้อย่างยอดเยี่ยมเลยทีเดียว ประสิทธิภาพเกือบจะเทียบกับ Software แบบ commercial เลยครับ ถ้าทุกท่านสนใจสามารถโหลดมาใช้ได้ฟรี ซึ่งโปรแกรมนี้ก็จะมี Toolbox มาให้ด้วย ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ กับ Arc Toolbox โดยมีเครื่องมือพื้นฐานทั่วไปอย่างเช่น clip intersect union buffer และอีกหลายอย่างครับ ยังไงก็ลองๆ เอาไปใช้กันเผื่อเป็นประโยชน์ครับ (เห็นมั้ยล่ะครับ Open Source ก็มีดีและมีหลากหลายเช่นกันครับ)

ดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ http://www.mapwindow.org/

ขอขอบคุณข้อมูลสำหรับทำภาพประกอบ : Map@NU และ GIST@NU

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

gvSIG 1.11 final version review




_______ลองใช้ฟรีแวร์ Desktop GIS อีกตัวหนึ่งที่มีความสามารถที่ดีเลยทีเดียว คือ gvSIG สามารถลองเอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้ครับ ถ้าหากใครที่จะหันมาลองโปรแกรมทางด้าน GIS ที่เป็นแบบ opensource ก็ขอแนะนำ gvSIG อีกตัวนึงสำหรับไว้ใช้ในงานทางด้านนี้น่ะครับ :) (ภาพตัวอย่างที่เห็น ได้ใช้ข้อมูลจาก MAP@NU และ GIST@NU)

เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ : http://www.gvsig.org

Geosense for Windows



free download : http://www.geosenseforwindows.com

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Chapter 7 : Warp (Reproject) and Translate (Convert format)

_______มาถึงบทที่ 7 กันแล้วน่ะครับในบทนี่ก็จะอยู่ในส่วนของเมนู Raster อยู่ครับ
แต่จะสอนการ warp projection ของข้อมูลภาพ และการแปลงไฟล์นามสกุลของข้อมูลภาพครับซึ่งสองเครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์ในการจัดการกับข้อมูลภาพเป็นส่วนใหญ่ครับ ยังไงก็ลองไปใช้ดูครับ :)

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Quantum GIS Version 1.7.2 'Wroclaw' is released มาแล้วครับ


________หลังจากที version 1.7.1 ออกมาไม่นาน ก็ตามมาติดๆ ด้วย version 1.7.2 ซึ่ง version นี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข error อยู่หลายตัวเหมือนกันครับอย่างเช่น Fix Gdaltools error checking for ogr layers ซึ่งสามารถเข้าไปดูรายละเอียดจากทางเว็บไซต์ของ QGIS ได้เลยครับ Changelog QGIS Version 1.7.2 'Wroclaw' หรือสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมลองไปใช้ได้เลยครับ QGIS Version 1.7.2 'Wroclaw' Download

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Chapter 6 : Create hillshade model and contour line (QGIS)

_______สวัสดีครับ ตอนนี้ก็มาถึงบทที่ 6 แล้วครับ ซึ่งในบทเรียนนี้ก็จะเสนอวิธีการ ทำ Hillshade กับ Contourที่ได้มาจาก DEM (Digital Elevation Model) ซึ่งข้อมูลความสูงเป็นของ ASTER GDEM สามารถไปดาวน์โหลดได้ Click การสร้างเส้นชั้นความสูงหรือ Contour line และ Hillshade จะใช้โปรแกรม Quantum GIS (QGIS) โดยใช้ในส่วนของเมนู Raster ซึ่งเจ้าโปรแกรม QGIS จะมีเครื่องมือของ GDAL ฝังอยู่เพื่อเอาไว้จัดการกับข้อมูลแบบ Raster ครับ

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Chapter 5 : Convert Shapefile to KML

______มีหลายคนโทรเข้ามาถามว่า "เฮ้ยทำไงจะเอาข้อมูล *.shp ไปเปิดในโปรแกรม google earth ได้" เราก็บอกไปว่าไม่ยากเลยก็แปลงให้เป็น kml สิครับโดยใช้ไอ้เจ้า Quantum GIS นี่แหละครับง่ายสุดๆ แล้ว ซึ่งวันนี้ก็เลยทำวิธีการแปลงไฟล์ที่เป็นแบบ ESRI Shapefile เป็นแบบ KML ( Keyhole Markup Language) แล้วลองไปเปิดกับโปรแกรม Google Earth ดูว่าจะผลลัพธ์อย่างไร ไปดูกันเลยครับ :))

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Chapter 4 : Importing a dbf or excel file containing X,Y Values into QGIS

______หลังจากที่ห่างหายกันไปนานในบทเรียนของโปรแกรม Quantum GIS โดยวันนี้จะมาเสนอบทที่ 4 คือการนำเข้าข้อมูลจาก *.dbf หรือ excel ที่เป็นนามสกุลแบบ *.csv ซึ่งไฟล์นี้ก็จะต้องมีค่าพิกัดที่เป็นแบบ UTM หรือ LAT,LONG ครับ
ซึ่งวิธีการนั้นก็จะแสนง่ายดายเลยครับไม่ยากเลยเหมาะสมสำหรับบุคคลที่กำลังทำงานภาคสนามออกพื้นที่สำรวจในเรื่องต่างๆ แต่อยากที่จะนำข้อมูลออกมานำเสนอในรูปแบบจุดในแผนที่ ผมขอแนะนำวิธีนี้อีกวิธีนึงน่ะครับที่สามารถช่วยคุณได้
ซึงถ้าเป็นเทียบกับ ArcView3.a ก็คือ add event theme หรือ arcgis ก็คือ create feature class from xy table แต่โปรแกรม Quantum GIS เองเรียกว่า "Add Delimited Text Layer" ครับ (ยังไงก็ลองนำไปใช้ดูน่ะครับ)

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แสดงการไหลของมวลน้ำแบบ animation จากข้อมูลน้ำท่วมของ gistda โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม RADARSAT



เข้าไปชมได้ที่ : Thai Flood Animation

________แสดงการเคลื่อนตัวของมวลน้ำที่กำลังเข้าสู่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 12 กันยายน - 5 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งได้ข้อมูลมาจาก gistda แล้วจัดทำโดยสถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร (gist@nu) ยังก็เอาใจช่วยคนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกๆ ท่านก็แล้วกันน่ะครับ เข้มแข็ง อดทนเข้าไว้แล้วมันก็จะผ่านไป รักกันเข้าไว้น่ะครับ คนไทยไม่ทอดทิ้งกันอยู่แล้วครับ ผมเชื่ออย่างนั้น เชื่ออย่างนั้นจริงๆ :))

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Esri Thailand Flood Map เจ๋งมาก


______เป็น Web Map Application อันหนึ่งที่ถือว่าเจ๋งมากซึ่งแสดงพื้นที่น้ำท่วม โดยเรียกบริการข้อมูลน้ำท่วมของ สทอภ. หรือ gistda นี่เองครับ และยังมีของสถาบันอื่นๆ อย่าง พื้นที่น้ำท่วมจาก UNITAR/UNOSAT , เส้นทางที่น้ำท่วมจากกระทรวงคมนาคม , บริเวณที่เป็นน้ำจาก SMAC , ศูนย์พักพิง ลองเข้าไปได้ที่ Esri Thailand Flood Map

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สถานการณ์น้ำท่วมรายวัน ปี 2554 แบบ animation



http://www.tempf.com/getfile.php?id=1090790&key=4eb3d85ca4396

_________สถานการณ์น้ำท่วมรายวัน ปี 2554 แบบ animation ซึ่งได้ข้อมูลมาจาก gistda แล้วเอามาทำเป็นภาพเคลื่อนไหวง่ายๆ เอาแบบดูง่ายๆ แล้วเข้าใจ ซึ่งจัดทำโดยสถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร (gist@nu) เลยนำมาให้ดูกันครับ :)

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

พื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากบริเวณลุ่มน้ำยม [Video]

_______ส่วนวิดีโออันนี้เพิ่งเสร็จหมาดๆ จะแสดงเกี่ยวกับพื้นที่น้ำท่วมในบริเวณลุ่มน้ำยม และแสดงให้เห็นขอบเขตของแก่งเสือเต้น และพื้นที่บางระกำโมเดล ที่เป็นแก้มลิงในการจัดการบริหารน้ำ ซึ่งจะซ้อนทับด้วยข้อมูลทึ่ตั้งหมู่บ้าน พื้นที่การเกษตร พื้นที่ป่าไม้ พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และข้อมูลพื้นที่น้ำท่วม จากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ครับ และข้อมูลต่างได้มาจากโครงการวิจัยของ Map@NU : http://www.map.nu.ac.th และจัดทำวิดีโอโดยทีมจากถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.cgistln.nu.ac.th และตัดต่อวิดีโอโดยคุณชานนท์ กิจจารักษ์ ครับ ^_^

PHITSANULOK FROM THEOS [Video]

_______Phitsanulok from THEOS เป็นการจำลองการบินในบริเวณอำเภอเมืองพิษณุโลก ซึ่งภาพถ่ายจากดาวเทียมจะเป็นภาพถ่ายจากดาวเทียมธีออส (THEOS) ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์มาจาก สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ซึ่งเป็นข้อมูลภาพแบบ Pansharp โดยทำการจำลองการบินโดยทีม สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งจะมีตำแหน่งโรงแรม โรงพยาบาล ตู้ATM เป็นต้นครับ :))

พื้นที่เสี่ยงดินถล่มและน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำน่าน [Video]

_______เป็นไฟล์วิดีโอ หนังสั้นๆ เกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงดินถล่มและน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำน่าน ซึ่งทางทีมสถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้เห็นว่าพื้นที่เสี่ยงดินถล่มและน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำน่าน อยู่ในบริเวณไหนบ้าง อาจจะเป็นประโยชน์ในการนำเสนอผลงานเกี่ยวกับทางด้านนี้ครับ ^_^

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

Chapter 3 : Add Field/Column and Update Attributes Table

_______หลังจากที่ห่างหายไปนานครับ ซึ่งช่วงนี้ยุ่งๆอยู่กับอะไรหลายอย่างก็เลยไม่ได้อัพเดพเกี่ยวกับ Quantum GIS ซักเท่าไหร่นักครับ แต่ก็จะค่อยๆ อัพวีดีโอเรื่อยๆ ครับ ซึ่งตอนนี้ก็มาถึง Chapter ที่ 3 แล้วครับ ก็จะเกี่ยวกับการเพิ่มฟิลด์และการแก้ไขข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute) ส่วนใหญ่จะทำงานกับข้อมูลตารางครับ

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

[TIP] แก้ปัญหา โฟล์เดอร์ถูกซ่อน หลังจากกำจัดไวรัสแล้ว

_______เป็นปัญหากับชีวิตอย่างมากเลยครับ เนื่องจากเครื่อง GPS โดนไวรัสเข้าไปเต็มๆ ไม่รู้จะทำยังไงดี ก็เลยให้ไอ้เจ้า MSE ของ Microsoft ทำการ Clean ซ่ะ ทำให้โฟล์เดอร์หายเกลี้ยงเลย แต่ยังมีข้อมูลอยู่ เลยคิดว่าชีวิตจะทำอย่างไรต่อไปดี (ตานแน่ๆ) ก็เลยเข้าไปที่เว็บของ Microsoft เพื่อจะหาวิธีแก้ปัญหาโฟล์เดอร์ที่ถูกซ่อน มาเข้าสู่วิธีการแก้ Hidden Folder ด้วยคำสั่ง Command line
_______1. ไปที่ Start >> Accessories >> Command Prompt
_______2. ทำการเข้าไปในไดว์ที่จะทำงานก่อน พอดีเป็นไดว์ F เลยพิมพ์ F: แล้ว Enter
_______3. จากนั้นให้พิมพ์คำสั่ง ตามดังนี้ attrib -s -h -r /S /D แล้วก็ Enter แล้วรอสักครู่หนึ่ง
_______4. หรือถ้าต้องการที่จะยกเลิกซ่อนเป็นบางโฟล์เดอร์ก็ให้พิมพ์คำสั่ง attrib -s -h -r /S /D ตามด้วยชื่อโฟล์เดอร์ แล้วรอสักครู่หนึ่ง ครับ แค่นี้ ไฟล์เราก็กลับมาแล้ว ไฟล์หายไม่ต้องล้อมคอก อิอิฮ่าๆๆๆ


ภาพประกอบพิมพ์คำสั่ง attrib -s -h -r /S /D


ภาพประกอบหลังที่ทำการยกเลิกการซ่อนโฟล์เดอร์แล้ว


ที่มา : http://www.microsoft.com/resources/documentation/windows/xp/all/proddocs/en-us/attrib.mspx?mfr=true

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Chapter 2 : Add Vector Raster Layers and Customize Symbology

_______ตอนนี้ก็เป็นบทที่ 2 แล้วครับ ซึ่งในบทนี้ก็จะสอนในส่วนของการเปิดชั้นข้อมูลแบบเวกเตอร์และแบบราสเตอร์ ในข้อมูลเวกเตอร์ก็จะยกตัวอย่างทั้งที่เป็นข้อมูลแบบจุด เส้น และพื้นที่ ครับ และก็จะกล่าวถึงคุณสมบัติของข้อมูลต่างๆ และอีกอย่างหนึ่งก็จะสอนการปรับแต่งคุณสมบัติหรือสัญลักษณ์ของข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจะรวมถึงการแสดงป้ายกำกับข้อมูล (Label) ด้วยครับ :) -

part 1



part 2


(ขอขอบคุณ ข้อมูลตัวอย่างที่ใช้ในการสอนเป็นข้อมูลจากทีมวิจัย Map@NU)

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Chapter1: Download and Install Program QGIS

______ช่วงนี้จะกลับมาเน้นเกี่ยวกับ desktop gis ที่เป็นฟรีแวร์ตัวนึงครับที่ชื่อว่า Quantum GIS (QIG)ซึ่งก็จะสอนตั้งแต่เริ่มต้นเลยครับก็คือ บทที่ 1 จะเป็นการสอนตั้งแต่วิธีการดาวน์โหลดโปรแกรมว่าโหลดที่ไหน อย่างไร แล้วจากนั้นก็จะแนะนำวิธีการติดตั้งโปรแกรมซึ่งก็ง่ายแสนจะง่ายครับ ยังก็ลองติดตามกันไปเรื่อยๆ ครับ (ถ้ามีเวลาก็จะคลอดบทต่อไปเรื่อยๆ ครับ ^_^)

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทดสอบ shape ของตัวอย่างที่เรียนโดย google fusion table

___________ในขณะที่ว่างจากการพักรับประทานอาหารว่าง ก็เลยทดสอบ shapefile ตัวอย่างที่อบรมมาทำ google fusion ดู ซึ่งก็ถือว่าทำได้ง่ายเลยที่เดียว และเป็นไรที่น่าสนใจอยู่ครับ เพื่อนๆน่าจะลองเอาไปเล่นขำๆ ดูฮ่าๆๆๆๆ ซึ่งต้องแปลง *.shp เป็น kml หรือ csv ก่อนน่ะครับ ไอ้เจ้าตัวนี้เป็นของ กทม. โดยแยก class ตาม area ครับ

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554