วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การสร้าง Buffer ในโปรแกรม MapWindows GIS

____นอกจากผมจะใช้โปรแกรม QGIS แล้ว ผมยังใช้โปรแกรม MapWindows GIS ในการทำงานด้วยครับ ซึ่งโปรแกรมนี้ก็เป็น Free Open Source GIS เหมือนกันครับ เพียงแต่จะไม่ได้อยู่ใน OSGeo เท่านั้นเองครับ โดยผมก็ได้ยกตัวอย่างการทำ Buffer มาให้ดูก่อนครับ เพื่อที่จะทดลองฟังก์ชั่นและเครื่องมือต่างของ MapWindows GIS ด้วยครับ ซึ่งหน้าต่าง Buffer จะคล้ายๆ กับ QGIS และเครื่องมือหลายตัวก็เหมือนเช่นกันครับ และผลลัพธ์ที่ได้ก็ถือว่าเยี่ยมเลยทีเดียวครับ






Visit Site : http://www.mapwindow.org/

Demo Internet GIS (pua water project)

______เป็นตัวอย่างเว็บที่บริการแผนที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต web map service (wms) โดยพัฒนามากจาก GeoServer ครับ แล้วก็ใช้ Framwork GeoExt เป็น UI ครับ หลักแล้วจัดทำขึ้นมาเพื่อทดสอบระบบเฉยๆ ก่อนที่จะนำไปใช้งานจริง เลยขอแชร์หน่อยครับ เผื่อท่านไหนสนใจจะได้ลองนำไปใช้กับงานตนเองบ้าง :)



Reference:
http://geoserver.org
http://geoext.org/

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

GeoServer 2.2-RC2 [Released on August 07, 2012]

________GeoServer เป็นเป็นซอฟต์แวร์ฟรีและ open source ทางด้านการพัฒนาข้อมูลภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่า Web Map Service ซึ่ง GeoServer ถูกพัฒนาโดยภาษา JAVA และแน่นอนก่อนที่เราจะใช้งานเจ้าโปรแกรมนี้จะต้องอาศัย JRE (Java Runtime Environment) เวอร์ชั่นที่ Stable ตอนนี้อยู่ที่ Version 2.1.4 ครับ แต่ถ้าท่านใดที่ต้องการอยากจะลองแบบ RC ตอนนี้ก็อยู่ที่ Version 2.2-RC2 ครับ ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในแวดวงทางด้าน Internet GIS โดยในประเทศไทยเราก็มีหลายๆ หน่วยงานทั้งในภาครัฐและเอกชนก็ใช้เจ้า GeoServer นี้อยู่ครับ ยกตัวอย่างเช่น http://flood.gistda.or.th/ ของ GISTDA ครับ ถ้าสนใจลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://geoserver.org ครับ ดาวน์โหลด GeoServer 2.2-RC2





Reference : http://geoserver.org

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สร้างเส้นชั้นความสูงจาก DEM โดยใช้ FWTools [gdal_contour]

_____เมื่อก่อนนั้น...เคยคิดว่าการทำเส้นชั้นความสูงเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่เดี๋ยวนี้มันเป็นอะไรที่ง่ายและสะดวกมากเลยครับ ซึ่งวันนี้ผมก็ขอแนะนำโปรแกรมอีกตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า "FWTools" ซึ่งเป็น Open Source GIS โดยการรวมเอาเครื่องมือและชุดคำสั่ง ไลบรารี่ต่างๆ ได้แก่ penEV, GDAL, MapServer, PROJ.4 และ OGDI เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ครับ และผมก็ขอแนะนำการสร้างเส้นชั้นความสูง โดยการเรียกใช้ไลบรารี่ของ GDAL ที่ชื่อว่า gdal_contour ครับ โดยตัวอย่างตามนี้เลยครับ gdal_contour -a elev dem.tif contour.shp -i 10.0

1. สร้างเส้นชั้นความสูงจาก DEM ช่วงชั้นความสูงเท่ากับ 20 เมตร และกำหนดให้สร้าง Attribute มีชื่อว่า ELEV


2.ภาพหลังจากการประมวลผลเสร็จแล้ว


3.จงเปิดมันขึ้นมาด้วยโปรแกรม OpenEV ดังภาพ



5. และที่สำคัญจงเปิดเส้นชั้นความสูงด้วย Quantum GIS ด้วยน่ะครับ


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://fwtools.maptools.org/
http://www.gdal.org/gdal_utilities.html

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเปลี่ยนเมนูภาษาไทยให้เป็นภาษาอังกฤษของโปรแกรม Quantum GIS

_______สวัสดีดีครับวันนี้ผมขอแนะนำวิธีการเปลี่ยนเมนูของโปรแกรม QGIS จากภาษาไทยหรือภาษาต่างดาว ให้เป็นภาษาอังกฤษครับ สำหรับท่านที่เป็นมือใหม่ในการใช้โปรแกรม QGIS น่ะครับ

1. ไปที่เมนู กำหนดค่า >> ทางเลือก ดังภาพครับ


2. จากนั้นให้เลือกที่แถบเมนู ท้องถิ่น ครับ


3. ให้คลิกกากบากที่หน้าคำว่า เขียนทับท้องถิ่น แล้วเลือก ท้องถิ่นที่จะใช้แทน เป็น "en_US" แล้วคลิก OK


4. จากนั้นก็ปิดโปรแกรม แล้วเปิดโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพียงเท่านี้ก็จะได้แล้วครับ :)


Powered by NU_GIS

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ArcGIS 10 (Desktop, Engine, Server) Service Pack 5 ออกแถลงการณ์อีกแล้วครับ


_______ออกมาอีกแล้วครับ Arcgis 10 Service Pack 5 ถ้าท่านใดที่เป็นสาวกของ esri ก็สามารถดาวน์โหลด Service Pack ได้ตามลิงค์นี้เลยครับ ArcGIS 10 (Desktop, Engine, Server) Service Pack 5 Announcement

รูปภาพประกอบจาก http://lh3.ggpht.com

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เมื่อป่า...ถูกบุกรุกเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล


_______เมื่อดูข่าวแล้วก็เศร้าใจ...ว่าเขตป่าสงวนแถวอำเภอนครไทย(สวนป่าเขากระยาง)กำลังโดนบุกรุกอย่างหนัก จากนายทุนและผู้มีอิทธิพล โดยลักลอบเข้าไปครอบครองและแผ้วถางโดยใช้เครื่องจักรตอนกลางคืน ซึ่งสิ่งที่ผมกลัวที่สุดตอนนี้จะทำให้พื้นที่ป่าของเราเหลือน้อยลง และผลกระทบในระยะยาวที่จะตามมาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นดินถล่มและอื่นๆ ที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และอีกอย่างที่นั้นเป็นบ้านเกิดของผมเองด้วย และแน่นอนสิ่งที่เราควรช่วยกันตอนนี้ก็ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ที่เค้าดูแลอยู่ โดยเฉพาะผู้นำชุมชนทั้งหลายซึ่งชาวบ้านเค้าได้เลือกท่านแล้ว ก็ควรที่จะทำหน้าที่ที่ตนต้องรับผิดชอบให้ดีที่สุด ไม่ใช่เกรงกลัวต่อผู้มีอิทธิพล และผมก็ได้เห็นถึงของป่าชุมชน ซึ่งเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่น่าจะกำลังจะโดนบุกรุกเหมือนๆกัน ตรงนี้เราต้องช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ และก็เล็งเห็นว่าการใช้เครื่องทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ(Geo-informatics)ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการแก้ปัญหาและหาคำตอบอะไรบางอย่างที่เราสนใจได้เช่นกัน...
ที่มาของรูปภาพ : http://www.phitsanulokhotnews.com